วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนพละ(วิชา วอลเลย์บอล_ทักษะ)


การฝึกทักษะเบื้องต้น

  การเสิร์ฟ ( Service ) หมายถึง การส่งส่งลูกเข้าสู่สนามการเล่นโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งแดนหลังด้านขวาทำการเสิร์ฟในเขตเสิร์ฟและเสิร์ฟโดยใช้มือข้างหนึ่ง เช่น ส้นมือ อุ้งมือ กำหมัด เป็นต้น ตีลูกบอลให้ข้ามตาข่ายเข้าไปยังแดนของผู้แข่งขัน การเสิร์ฟมีความสำคัญต่อการเล่นมาก เพราะคะแนนที่ได้จะได้
จากการเป็นฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น หากเสิร์ฟเสียจะเสียสิทธิการเสิร์ฟและหมดโอการที่จะได้คะแนนในครั้งนั้น ดังนั้น ทักษะการเสิร์ฟจึงต้องสนใจศึกษาและฝึกหัดให้ชำนาญเพราะผู้เล่นทุกคนต้องหมุนเวียนไปเป็นผู้เสิร์ฟ
                ชนิดของการเสิร์ฟที่นิยมมี 3 ชนิด คือ
การเสิร์ฟลูกมือล่าง
การเสิร์ฟลูกมือบน
การเสิร์ฟลูกระดับไหล่
1.           การเสิร์ฟลูกมือล่าง ( Underhand Serve ) ผู้เสิร์ฟยืนทรงตัวโดยวางเท้าที่ไม่ถนัด (โดยมากเป็นเท้าซ้าย ) ไว้ข้างหน้า น้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ทั้งสองเท้าหรืออาจหนักมาทางเท้าหลังเล็กน้อย ย่อเข่าพอสมควร  ( เด็กๆ อาจย่อเข่าให้มากเพื่อจะได้แรงส่งจากเท้า ) มือซ้ายกางนิ้วออกถือลูกบอลไว้ข้างหน้า ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลา
การเตรียม มือขวาที่จะใช้ตีลูกบอลเงื้อไปข้างหน้าเกร็งมือให้แข็ง นิ้วชิดกัน จะแบบหรือกำมือก็ได้ แต่ในที่นี้เสนอแนะให้ใช้วิธีกำมือ เพื่อใช้ส้นมือตีกระแทกบังคับลูกบอลไป เพราะส่วนของส้นมือหนาและแข็งแรงกว่าส่วนอื่น ทำให้ตีลูกบอลได้ไกลและไม่เจ็บมือ
วิธีปฏิบัติ
1.             เหวี่ยงแขนแล้วหายมือที่จะตีลูกบอลให้เฉียดด้านข้างของลำตัวไปมาหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ โดยเหวี่ยงแขนไปด้านหน้าให้โดนใต้ลูกบอลค่อนมาทางด้านหลังเล็กน้อย พร้อมกับย่อตัวโยกหาจังหวะ
2.             ในจังหวะที่โยนลูกบอลขึ้นเพื่อจะตีลูกให้เหวี่ยงแขนไปข้างหลัง เมื่อเริ่มเหวี่ยงมาข้างหน้าให้ย่อตัวตามจังหวะของแขนที่เหวี่ยงไป
3.             ลูกบอลไม่ควรโยนสูงเพราะควบคุมยาก ควรโยนระดับเอวของผู้ตี เมื่อลูกลอยนิ่งจะเป็นจังหวะเดียวกับที่แขนเหวี่ยงมาตีลูก
4.             ในจังหวะที่มือกระทบลูกต้องเกร็งให้มือแข็ง พยายามตีให้ถูกกึ่งกลางลุกค่อนมาข้างใต้เล็กน้อย ส่งแรงผ่านไปโดยเหวี่ยงแขนตามและบิดตัวตามไปด้วย
ถ้าต้องการบังคับลูกให้นิ่ง เมื่อมือตีกระทบลูกบอลควรพยายามให้ถูกเฉพาะส้นมือ และควรเกร็งมือไว้ไม่เหวี่ยงตามลูกบอลไป

2.           การเสิร์ฟลูกมือบน ( Over Hand Serve ) การเสิร์ฟลูกมือบนเป็นการเสิร์ฟที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจาก เป็นวิธีที่ไม่ยากนัก ลูกบอลที่เสิร์ฟมีความรุนแรงและรับยากจึงเป็นผลดีต่อฝ่ายเสิร์ฟเสมอ การฝึกเสิร์ฟมือบนควรเป็นวิธีฝึกเพื่อพัฒนาการผู้เล่น เมื่อผู้เล่นมีความชำนาญการเสิร์ฟมือล่างเป็นอย่างดีแล้ว
การเตรียม ยกลูกบอลขึ้นมาทางไหล่ขวา ( สำหรับผู้เล่นถนัดขวา )ระดับลูกบอลอยู่เหนือศีรษะเล็กน้อย มือขวาเกร็งนิ้วชิดกันทาบไว้หลังลูกบอล ตามองอยู่ที่ลูกบอลตลอดเวลาทรงตัวให้มั่นคงน้ำหนักตัวควรอยู่ด้านหลัง
วิธีปฏิบัติ
1.             ย่อตัวเข่างอเล็กน้อย ส่งลูกบอลขึ้นในตำแหน่งที่มือขวาจะตีลูกบอลได้สะดวก
2.             ขณะที่ถือลูกบอลอย่างมีสมาธิ มือขวาเงื้อมาข้างหลังมาขึ้น มือซ้าย (ที่โยนลูก ) ควรยกไว้เพื่อการทรงตัว
3.             จังหวะที่ลูกบอลลอยขึ้นเกือบสูงสุดจะเป็นจังหวะเดียวกับมือขวาเงื้อเต็มที่ พร้อมๆน้ำหนักตัวถ่ายมาอยู่เท้าหลังเกือบทั้งหมด
4.             เมื่อลูกบอลหยุดนิ่งแล้วเริ่มตกลง ให้ตีลูกบอลทางด้านหลังพยายามให้ส้นมือถูกกึ่งกลางของลูกบอล โดยใช้แรงส่งจากน้ำหนังตัว กำลังกล้ามเนื้อท้อง หัวไหล่ แรงเหวี่ยงของมือและแขนส่งลูกบอลไป
3.           การเสิร์ฟลูกระดับไหล่ ( Round House Serve )
การเตรียม ยืนหลังเส้นในเขตส่งลูก หันลำตัวด้วนข้างเข้าหาตาข่าย ( คนถนัดมือขวาให้หันลำตัวซีกซ้ายเข้าหาตาข่าย ) เท้าทั้งสองขนานกันและหันเท้าออกทางเส้นข้างของสนาม น้ำหนักตัวอยู่บนกึ่งกลางของเท้าทั้งสอง
วิธีปฏิบัติ
1.             มือซ้ายถือลูกบอล ( อาจจะใช้ทั้งสองมือก็ได้ ) โยนลูกบอลให้สูงขึ้นเหนือไหล่ขวาบิดลำตัวไปทางด้านขวาของลำตัวและน้ำหนักตัวค่อนไปทางด้านขวา
2.             เหวี่ยงแขนขวาขึ้นในจังหวะที่ลูกบอลตกลงมา แขนที่จะส่งลูกบอลต้องตวัดมือให้พอดีกับจังหวะของลูกบอลที่ตก
3.             ตวัดมือขวากลับมาโดยใช้สันมือ ( หรือกำหมัด ฝ่ามือข้อมือ )  ตีส่วนหลังของลูกบอล ตอนตีควรหักข้อมือด้วย

4.             เมื่อตีลูกบอลไปแล้ว บิลำตัวไปทางด้านซ้าย และเปลี่ยนน้ำหนักตัวให้อยู่บนเท้าซ้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น